ธนบัตร 50 สตางค์  ด้านหน้า
ธนบัตร 50 สตางค์ (ปี 2485)

ธนบัตร 1 บาท แบบ 5 ด้านหน้า
ธนบัตร 1 บาท (ปี 2485 - 2487)

ธนบัตร 5 บาท แบบ 5 ด้านหน้า
ธนบัตร 5 บาท (ปี 2485 - 2488)

ธนบัตร 10 บาท แบบ 5 ด้านหน้า
ธนบัตร 10 บาท (ปี 2485 - 2488)

ธนบัตร 20 บาท แบบ 5 ด้านหน้า
ธนบัตร 20 บาท (ปี 2485 - 2488)

ธนบัตร 100 บาท แบบ 5 ด้านหน้า
ธนบัตร 100 บาท (ปี 2486 - 2488)

ธนบัตร 1000 บาท แบบ 5 ด้านหน้า
ธนบัตร 1000 บาท (ปี 2487)

ราคาโดยประเมิน คลิกดูในธนบัตรแต่ละแบบ


ข้อมูลธนบัตร

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลไทยไม่สามารถสั่งพิมพ์ธนบัตรจากบริษัทโทมัสเดอลารู ประเทศอังกฤษได้ เพราะอังกฤษอยู่ฝ่ายสัมพันธมิตร ไทยจึงประสบปัญหาขาดแคลนธนบัตร รัฐบาลจึงได้ขอให้ประเทศญี่ปุ่นผลิตธนบัตรให้โดยมีบริษัท Mitsui Bussan Kaisha เป็นตัวแทนติดต่อกับโรงพิมพ์ธนบัตรของรัฐบาลญี่ปุ่น

ธนบัตรที่สั่งพิมพ์จากประเทศญี่ปุ่นที่ได้รับในช่วงหลังๆ แตกต่างไปจากรุ่นแรกๆ เนื่องจากในช่วงหลังๆ ญึ่ปุ่นถูกโจมตีจากฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างหนัก ทำให้วัสดุที่ใช้ในการผลิตธนบัตรขาดแคลน

การขนส่งธนบัตรจากญี่ปุ่นมาไทยมีทั้งการขนส่งทางอากาศและทางทะเล มีครั้งหนึ่งที่บริษัท Mitsui Bussan Kaisha แจ้งว่าเครื่องบินขนส่งขัดข้องต้องร่อนลงที่เกาะไหหลำ ทำให้หีบธนบัตร 100 บาท (รุ่น 2) หมวด ป 13 และ ป 14 แตกออกและไฟไหม้สูญหายไป 11,508 ฉบับ ต่อมากลับพบว่ามีธนบัตรหมวดดังกล่าวที่มีการพิมพ์ปลอมลายเซ็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกลับเข้ามาหมุนเวียนในไทย กระทรวงการคลังได้แถลงการณ์เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2489 แจ้งหมายเลขธนบัตรที่ถูกกฎหมาย และผ่อนผันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยรับแลกธนบัตรปลอมหมวดนี้เฉพาะจากส่วนราชการที่มีหลักฐานเชื่อได้ว่าได้มาก่อนแถลงการณ์

ส่วนการขนส่งทางทะเลนั้นเมื่อการโจมตีของฝ่ายสัมพันธมิตรรุนแรงขึ้น จึงได้เปลี่ยนจากการขนส่งมาที่ท่าเรือกรุงเทพไปที่ท่าเรือสิงคโปร์แล้วลำเลียงเข้ากรุงเทพทางรถไฟแทน ครั้งหนึ่งเมื่อรถไฟมาถึงสถานีท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี ได้มีคนร้ายลักลอบถีบหีบธนบัตรลงจากรถไฟ ธนบัตรที่ถูกลักไปมีชนิด 5 บาท 74,000 ฉบับ ชนิด 10 บาท 224,000 ฉบับ ชนิด 20 บาท 72,000 ฉบับ และชนิด 100 บาท 40,968 ฉบับ และต่อมาพบธนบัตรดังกล่าวมีการพิมพ์ปลอมลายเซ็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเข้ามาหมุนเวียนในระบบ กระทรวงการคลังได้ออกประกาศวันที่ 24 ส.ค. 2489 แจ้งหมายเลขที่ผิดกฎหมาย และเพื่อมิให้ผู้สุจริตเสียหาย จึงจำเป็นต้องสอบสวนในบางกรณีว่าได้มาโดยสุจริตหรือไม่ ธนบัตรปลอมกลุ่มนี้เรียกกันว่า ธนบัตรไทยถีบ หรือธนบัตรเล้งท่าฉาง