ธนบัตร 50 บาท แบบไว้ทุกข์ รุ่น 1 ด้านหน้า
ธนบัตร 50 บาท แบบไว้ทุกข์ รุ่น 1 ด้านหลัง
ธนบัตร 50 บาท รุ่น 1 พิมพ์สีดำปิดทับเลข 1 และภาษาจีน-มลายูทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

ธนบัตร 50 บาท แบบไว้ทุกข์ รุ่น 2 ด้านหน้า
ธนบัตร 50 บาท รุ่น 2 พิมพ์ข้อความ ห้าสิบบาท บอกราคา

ธนบัตร 50 บาท แบบไว้ทุกข์ รุ่น 3 ด้านหน้า
ธนบัตร 50 บาท รุ่น 3 พิมพ์สีดำปิดทับเลข 1 และภาษาจีน-มลายูเฉพาะด้านหน้า

ราคาโดยประเมิน

  • รุ่น 2 เลขธรรมดา ลายเซ็น ควง สภาพ UNC ราคาประมาณ 22,500 - 23,500 บาท
  • ธนบัตร 1 ดอลล่าร์ สภาพเดิม ไม่มีการพิมพ์เลขทับ ไม่มีลายเซ็นและหมายเลข สภาพ UNC ราคาประมาณ 165,000 - 175,000 บาท

    ราคานี้อัพเดทเมื่อ 7 ธันวาคม 2560

    ข้อมูลธนบัตร

    ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้มอบดินแดน 4 รัฐมลายูได้แก่ ไทรบุรี ปลิศ กลันตัน และตรังกานู อาณานิคมของอังกฤษที่เคยอยู่ในความปกครองของไทยคืนกลับมา รัฐบาลไทยจึงได้จัดเตรียมพิมพ์ธนบัตร 1 ดอลล่าร์โดยพิมพ์ที่โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหารบก เพื่อจะนำไปใช้จ่ายในดินแดนดังกล่าว
    ธนบัตร 1 ดอลล่าร์ ด้านหน้า
    ธนบัตร 1 ดอลล่าร์ ด้านหน้า
    แต่เนื่องจากในขณะนั้นรัฐทั้ง 4 มีการใช้ธนบัตรที่ญี่ปุ่นผลิตขึ้นอยู่แล้ว รัฐบาลญี่ปุ่นจึงไม่เห็นด้วย รัฐบาลไทยเห็นว่าเพื่อเป็นการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศจึงไม่ได้นำธนบัตรออกใช้ ต่อมาในช่วงท้ายของสงครามเกิดความขาดแคลนธนบัตรในไทยเป็นอย่างมาก รัฐบาลจึงนำธนบัตรนี้มาพิมพ์ทับเป็นราคา 50 บาท

    การพิมพ์ทับราคา และการพิมพ์ปิดทับภาษาจีนและภาษามลายูด้วยหมึกสีดำเป็นแถบ เป็นลักษณะเด่นของธนบัตรแบบพิเศษนี้ ประชาชนจึงเรียกว่าธนบัตรแบบไว้ทุกข์ มีการเปลี่ยนตำแหน่งการพิมพ์ทับแตกต่างในแต่ละรุ่น

    ธนบัตร 50 บาทรุ่น 1 ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 2488 รุ่น 2 ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2488 และรุ่น 3 ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2488

    ต่อมากระทรวงการคลังได้ประกาศเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2489 ให้ยกเลิกธนบัตรแบบพิเศษ 50 บาทนี้ ไม่ให้ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2489

    ขนาดธนบัตร

    6.50 x 12.50 เซนติเมตร

    ลายมือชื่อบนธนบัตร

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
    พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ (17 ธ.ค. 2484 - 1 ส.ค. 2487)
    นายควง อภัยวงศ์ (2 ส.ค. 2487 - 10 ม.ค. 2488)
    นายเล้ง ศรีสมวงศ์ (10 ม.ค. 2488 - 31 ส.ค. 2488)