ธนบัตร 1000 บาท รุ่น 1ด้านหน้า
ธนบัตร 1000 บาท รุ่น 1 ด้านหลัง
ธนบัตร 1000 บาท รุ่น 1

ธนบัตร 1000 บาท รุ่น 2 ด้านหน้า
ธนบัตร 1000 บาท รุ่น 2 (เหมือนรุ่น 1 แต่เพิ่มความเข้มของสีให้เข้มกว่ารุ่น 1)

ราคาโดยประเมิน

  • เลขธรรมดา ลายเซ็น แนบ-เภา สภาพ VG ราคาประมาณ 56,000 - 60,000 บาท

    ราคานี้อัพเดทเมื่อ 7 ธันวาคม 2560

    ข้อมูลธนบัตร

    ในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากที่ไทยได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นแล้ว ความรุนแรงของสงครามยังไม่ได้ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยมากเท่าใดนัก แต่กลับส่งผลให้การค้าขายสินค้าให้กับญี่ปุ่นได้ในราคาที่สูงขึ้นเพราะความต้องการบริโภคในกองทัพญี่ปุ่นทั้งในและนอกประเทศ ทำให้ปริมาณการใช้ธนบัตรมีมากขึ้น ทำให้ธนบัตรชนิดราคาต่ำชำรุดรวดเร็ว

    รัฐบาลจึงออกธนบัตรราคา 1000 บาท โดยพิมพ์ที่โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหารบก เพื่อลดปัญหาการใช้ธนบัตรให้เพียงพอและอยู่ในสภาพดีซึ่งเหมาะสมแล้วต่อสถานการณ์ขณะนั้น

    ด้านหลังธนบัตรมีการประทับตราพระสยามเทวาธิราชด้วยหมึกแดงพร้อมหมวดอักษรและหมายเลขตรงกับด้านหน้าเพื่อใช้ตรวจพิสูจน์เนื่องจากเป็นธนบัตรราคาสูง

    ธนบัตร 1000 บาทรุ่น 1 ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2486 และรุ่น 2 ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2487 รูปลักษณะของธนบัตรรุ่น 2 เหมือนกับรุ่น 1 แตกต่างเฉพาะสีของรุ่น 2 เข้มกว่ารุ่น 1

    ต่อมากระทรวงการคลังได้ประกาศเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2489 ให้ยกเลิกธนบัตรแบบพิเศษ 50 บาทนี้ ไม่ให้ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2489

    ขนาดธนบัตร

    10.50 x 19.50 เซนติเมตร

    หมวดอักษรและหมายเลข

    ตั้งแต่ พ ๑ เป็นต้นไป

    ธนบัตรด้านหน้า

    องค์ประกอบหลักคือพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลอยู่ด้านขวา ตรงกลางซ้ายเป็นภาพพระปรางค์สามยอด ตรงกลางบนเป็นรูปพระครุฑพ่าห์ มีลายน้ำรูปพานรัฐธรรมนูญอยู่ในวงกลมข้างซ้าย เนื้อกระดาษตอนกลางโรยเส้นไหมสีแดงและสีน้ำเงินจากริมบนจรดริมล่าง ใต้กรอบด้านล่างมีคำว่า กรมแผนที่

    ธนบัตรด้านหลัง

    ภาพหลักคือภาพพระที่นั่งอนันตสมาคมอยู่ภายใต้กรอบล้อมรอบด้วยรูปลายประยุกต์ ด้านบนเป็นรูปช้างสามเศียรไอราพต ใต้กรอบด้านล่างมีคำว่า กรมแผนที่

    ลายมือชื่อบนธนบัตร

    อธิบดีกรมคลัง
    นายแนบ พหลโยธิน (14 ก.ค. 2479 - 26 พ.ย. 2485)

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
    พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ (17 ธ.ค. 2484 - 1 ส.ค. 2487)