ธนบัตร 20 บาท แบบ 9 นี้มีการพิมพ์ออกมาใช้ต่อเนื่องยาวนานถึง 25 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 จนถึงปี พ.ศ. 2514 รูปแบบธนบัตรมีการผลิตออกมาถึง 5 รุ่น ถ้ามองเผินๆ อาจจะดูคล้าย ๆ กันทั้ง 5 รุ่น มีเพียงรายละเอียดเล็กน้อยที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละรุ่น ดังนี้

ธนบัตร 20 บาท รุ่น 1 (ปี 2491 - 2493)


ธนบัตร 20 บาท แบบ 9 รุ่น 1 ด้านหน้า

ด้านหน้าธนบัตรรุ่น 1 เป็นพระพักตร์หนุ่ม หรือที่นักสะสมเรียกว่าหน้าหนุ่ม หมายเลขธนบัตรพิมพ์ด้วยหมึกสีแดง คำว่า "ธนบัตร์" มีตัวการันต์ และที่ตรงลายน้ำเป็นลายภาพพานรัฐธรรมนูญ

ธนบัตร 20 บาท  แบบ 9 ด้านหลัง

ธนบัตร 20 บาท รุ่น 2 (ปี 2493 - 2496)


ธนบัตร 20 บาท แบบ 9 รุ่น 2  ด้านหน้า

ด้านหนัาธนบัตรรุ่น 2 เปลี่ยนสีหมึกพิมพ์หมายเลขธนบัตรเป็นสีดำ ส่วนด้านหลังธนบัตรยังคงเหมือนรุ่น 1


ธนบัตร 20 บาท รุ่น 3 (ปี 2496 - 2499)


ธนบัตร 20 บาท แบบ 9 รุ่น 3  ด้านหน้า

ด้านหนัาธนบัตรรุ่น 3 เปลี่ยนเป็นภาพพระพักตร์แก่ ด้านหลังธนบัตรยังคงเหมือนรุ่น 1


ธนบัตร 20 บาท รุ่น 4 (ปี 2499 - 2500)


ธนบัตร 20 บาท แบบ 9 รุ่น4  ด้านหน้า

ด้านหนัาธนบัตรรุ่น 4 แก้คำว่า "ธนบัตร" เป็นไม่มีตัวการันต์ และเพิ่มเส้นใยเคลือบโลหะต่อต้านการปลอมแปลงฝังในเนื้อกระดาษตามแนวตั้งสามารถมองเห็นได้ด้วยการยกขึ้นส่องกับแสงสว่าง เป็นลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงที่นำมาทดแทนการโรยเส้นใยไหมสีในเนื้อกระดาษแบบที่เคยผลิตในรุ่น 1-3 ด้านหลังธนบัตรยังคงเหมือนรุ่น 1


ธนบัตร 20 บาท รุ่น 5 (ปี 2500 - 2514)


ธนบัตร 20 บาท แบบ 9 รุ่น 5  ด้านหน้า

ด้านหนัาธนบัตรรุ่น 5 เปลี่ยนภาพลายน้ำจากรูปพานรัฐธรรมนูญเป็นภาพพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 9 และด้านหลังมีการเปลี่ยนข้อความแจ้งโทษ ข้อความการแจ้งโทษของการปลอมแปลงธนบัตรมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยโทษเดิมเขียนว่า "โทษฐานปลอมหรือแปลงธนบัตรคือจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่พันบาทถึงหมื่นบาทหรือหรือสิบเท่าราคาธนบัตรปลอมแล้วแต่จำนวนไหนจะมากกว่ากัน" โทษใหม่ที่หนักกว่าเดิมเขียนว่า "โทษฐานปลอมหรือแปลงธนบัตร คือจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกอย่างสูงยี่สิบปี และปรับอย่างสูงสี่หมื่นบาท" เป็นการเปลี่ยนแปลงไปตามประมวลกฎหมายอาญาที่เริ่มบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2500

ราคาโดยประเมิน

รุ่น 1

  • เลขธรรมดา ลายเซ็น วิวัฒนไชย-เล้ง สภาพ UNC ราคาประมาณ 31,000 - 36,000 บาท
  • เลขธรรมดา ลายเซ็น วิวัฒนไชย-เล้ง สภาพ EF ราคาประมาณ 12,000 - 12,500 บาท
  • เลขธรรมดา ลายเซ็น วิวัฒนไชย-เล้ง สภาพ VF ราคาประมาณ 9,500 - 10,000 บาท
  • เลขธรรมดา ลายเซ็น พระยาโท-วิวัฒนไชย สภาพ UNC ราคาประมาณ 85,000 - 89,000 บาท
  • เลขธรรมดา ลายเซ็น พระยาโท-วิวัฒนไชย สภาพ VF ราคาประมาณ 35,000 - 38,000 บาท
  • เลขธรรมดา ลายเซ็น พระยาโท-วิวัฒนไชย สภาพ F ราคาประมาณ 12,000 - 13,000 บาท
  • เลขธรรมดา ลายเซ็น วิวัฒนไชย-เดช สภาพ EF ราคาประมาณ 35,000 - 37,000 บาท
  • เลขธรรมดา ลายเซ็น วิวัฒนไชย-เดช สภาพ F ราคาประมาณ 12,000 - 13,000 บาท
  • เลขธรรมดา ลายเซ็น ป.-เดช สภาพ VF ราคาประมาณ 55,000 - 58,000 บาท

    รุ่น 2

  • เลขธรรมดา ลายเซ็น วิวัฒนไชย-เล้ง สภาพ UNC ราคาประมาณ 14,000 - 15,000 บาท
  • เลขธรรมดา ลายเซ็น วิวัฒนไชย-เดช สภาพ UNC ราคาประมาณ 99,000 - 100,000 บาท
  • เลขธรรมดา ลายเซ็น วิวัฒนไชย-เดช สภาพ EF-UNC ราคาประมาณ 51,000 - 56,000 บาท
  • เลขธรรมดา ลายเซ็น ป.-เดช สภาพ UNC ราคาประมาณ 18,500 - 19,200 บาท
  • เลขธรรมดา ลายเซ็น มนู-เดช สภาพ EF ราคาประมาณ 11,000 - 12,000 บาท

    รุ่น 3

  • อยู่ในระหว่างอัพเดทราคา

    รุ่น 4

  • อยู่ในระหว่างอัพเดทราคา

    รุ่น 5

  • เลขธรรมดา ลายเซ็น ส.-โชติ สภาพ UNC ราคาประมาณ 83,000 - 88,000 บาท
  • เลขธรรมดา ลายเซ็น ส.-โชติ สภาพ EF ราคาประมาณ 44,000 - 46,000 บาท
  • เลขธรรมดา ลายเซ็น ส.-ป๋วย สภาพ UNC ราคาประมาณ 680 - 750 บาท
  • ชุดเลขตอง 1's - 9's + 000001 + 1000000 (รวม 11 ฉบับ) ลายเซ็น ส.-ป๋วย สภาพ EF ราคาประมาณ 250,000 บาท
  • ชุดเลขตอง 1's - 9's + 000001 + 1000000 (รวม 11 ฉบับ) ลายเซ็น สมหมาย-พิสุทธิ์ สภาพ EF ราคาประมาณ 250,000 บาท
  • ธนบัตรตัวอย่าง ลายเซ็น ส.-ป๋วย พิมพ์ "SPECIMEN" สภาพ UNC ราคาประมาณ 32,000 บาท
  • ธนบัตรตัวอย่าง ลายเซ็น สุนทร-ป๋วย พิมพ์ "SPECIMEN" สภาพ UNC ราคาประมาณ 26,000 บาท

    ราคานี้อัพเดทเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2560

    ข้อมูลธนบัตร

    ธนบัตร 20 บาท รุ่น 1 ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2491

    รุ่น 2 ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2493

    รุ่น 3 ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2496

    รุ่น 4 ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2499

    รุ่น 5 ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 2500

    ขนาดธนบัตร

    8.70 x 14.70 เซนติเมตร

    หมวดอักษรและหมายเลข

    รุ่น 1 : ฉ ๑ - ฉ ๑๒

    รุ่น 2 : ฉ ๑๓ - ฉ ๕๐

    รุ่น 3 : ฉ ๕๑ - ฉ ๘๘

    รุ่น 4 : ฉ ๘๙ - ฉ ๑๐๐ และ ช ๑ - ช ๙

    รุ่น 5 : ช ๑๐ - ช ๑๐๐, ซ ๑ - ซ ๑๐๐, ร ๑ - ร ๔๕๖ และ ร ๙๐๑ - ร ๙๐๕

    ลายมือชื่อบนธนบัตร

    รุ่น 1

  • วิวัฒนไชย - เล้ง
  • พระยาโท - วิวัฒนไชย
  • วิวัฒนไชย - เดช
  • ป. - เดช

    รุ่น 2

  • วิวัฒนไชย - เล้ง
  • วิวัฒนไชย - เดช
  • ป. - เดช
  • มนู - เดช

    รุ่น 3

  • เภา - ส.

    รุ่น 4

  • เภา - ส.
  • เภา - เกษม

    รุ่น 5

  • เภา - เกษม
  • ส. - เกษม
  • ส. - โชติ
  • โชติ - โชติ
  • สุนทร - ป๋วย
  • ส. - ป๋วย
  • สมหมาย - พิสุทธิ์

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
    พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย (28 มิ.ย. 2492 - 13 ต.ค. 2492)
    จอมพลแปลก พิบูลสงคราม (13 ต.ค. 2492 - 18 ก.ค. 2493)
    พระมนูภาณวิมลศาสตร์ (18 ก.ค. 2493 - 28 พ.ย. 2494)
    พลเอก เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ (8 ธ.ค. 2494 - 30 มี.ค. 2500)
    พันเอก นายวรการบัญชา (31 มี.ค. 2500 - 16 ก.ย. 2500)
    นายเสริม วินิจฉัยกุล (26 ก.ย. 2500 - 20 ต.ค. 2501)
    นายโชติ คุณะเกษม (10 ก.พ. 2502 - 1 พ.ค. 2502)
    นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ (1 พ.ค. 2502 - 8 ก.ค. 2508)
    นายเสริม วินิจฉัยกุล (8 ก.ค. 2508 - 15 ต.ค. 2516)
    นายสมหมาย ฮุนตระกูล (30 พ.ค. 2517 - 20 ก.พ. 2518)

    ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
    นายเล้ง ศรีสมวงศ์ (3 ธ.ค. 2491 - 3 ส.ค. 2492)
    หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ (4 ส.ค. 2492 - 29 ก.พ. 2495)
    นายเสริม วินิจฉัยกุล (1 มี.ค. 2495 - 24 ก.ค. 2498)
    นายเกษม ศรีพยัคฆ์ (25 ก.ค. 2498 - 23 ก.ค. 2501)
    นายโชติ คุณะเกษม (24 ก.ค. 2501 - 3 พ.ค. 2502)
    นายป๋วย อึ๊งภากรณ์ (11 มิ.ย. 2502 - 15 ส.ค. 2514)
    นายพิสุทธิ์ นิมมานเหมินท์ (16 ส.ค. 2514 - 23 พ.ค. 2518)

    เทคโนโลยีที่ใช้ในการต่อต้านการปลอมแปลง

    การพิมพ์หมึกนูน ลายน้ำในเนื้อกระดาษ เส้นไหมสีบนผิวเนื้อกระดาษ เส้นใยเคลือบโลหะต่อต้านการปลอมแปลง