
ใบพระราชทานเงินตรา 4 ตำลึง

ใบพระราชทานเงินตรา 15 ตำลึง

ใบพระราชทานเงินตรา 1 ชั่ง

ใบพระราชทานเงินตรา 1 ชั่ง 10 ตำลึง
ราคาโดยประเมิน
- 10 ตำลึง เลขธรรมดา สภาพ EF ราคาประมาณ 830,000 - 870,000 บาท
ราคานี้อัพเดทเมื่อ 26 ธันวาคม 2560

ข้อมูล
ใบพระราชทานเงินตราเป็นเงินกระดาษอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้จัดพิมพ์ขึ้น สันนิษฐานว่าเพื่อพระราชทานแก่บุคคลที่ทำความดีความชอบ หรือจ่ายเป็นเบี้ยหวัดให้แก่ข้าราชการในยามที่เงินโลหะขาดแคลน ซึ่งอาจจะเป็นช่วงระหว่างปี 2399 - 2403 จึงไม่ได้แพร่หลายในหมู่ราษฎร
ใบพระราชทานเงินตราทำด้วยกระดาษขาว พิมพ์เพียงด้านเดียว มีคำว่า "พระราชทานเงินตรา" และตามด้วยราคา ด้านล่างซ้ายมีคำว่า "No" เพื่อเขียนหมายเลขของใบพระราชทานเงินตรา ลายกรอบสี่เหลี่ยมมีแตกต่างกันถึง 4 แบบ
ใบพระราชทานเงินตรามีการพิมพ์หลายราคา คือ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8,10 12 และ 15 ตำลึง และ 1 ชั่ง, 1 ชั่ง 5 ตำลึง, 1 ชั่ง 10 ตำลึง ผู้ได้รับใบพระราชทานเงินตราก็มักจะไปขึ้นเงินที่พระคลังมหาสมบัติเช่นเดียวกับหมายที่ประมักไม่นิยมเก็บไว้