หมายราคาต่ำหน้าภาษาไทย หมายราคาต่ำ หน้าภาษาต่างประเทศ

หมายราคาต่ำ


หมายราคาคากลาง หน้าภาษาไทย หมายราคาคากลาง หน้าภาษาต่างประเทศ

หมายราคากลาง


หมายราคาคาสูง หน้าภาษาไทย หมายราคาสูง หน้าภาษาต่างประเทศ

หมายราคาสูง

ราคาโดยประเมิน

ราคานี้อัพเดทเมื่อ 26 ธันวาคม 2560

ข้อมูล

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้จัดทำเงินกระดาษชนิดแรกออกใช้ในระบบการเงินในประเทศ เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนเงินพดด้วงซึ่งไม่เพียงพอต่อปริมาณการค้าขายที่มีมากขึ้น หมายถูกพิมพ์ออกมาในปี 2396 จากโรงพิมพ์อักษรพิมพการซึ่งเป็นโรงพิมพ์หลวงแห่งแรกในพระบรมมหาราชวัง

พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้มีการใช้หมายอย่างแพร่หลายในราชอาณาจักร จึงได้ทำตั้งแต่มูลค่าน้อยตั้งแต่ 1 เฟื้อง จนไปถึง 1 ชั่ง ด้านหน้าพิมพ์เป็นภาษาไทย ด้านหลังพิมพ์ราคาเป็นภาษาต่างประเทศ 12 ภาษา ได้แก่ ไทย จีน อังกฤษ ละติน มลายู พม่า เขมร รามัญ ลาว มอญ บาลี และสันสกฤต เพื่อให้ทุกเชื้อชาติในราชอาณาจักรใช้ได้อย่างทั่วถึง

หมายจัดแบ่งเป็น 3 ชนิดตามระดับราคา ทุกชนิดมีการพิมพ์ลวดลายบนกระดาษขาวทั้ง 2 ด้าน ข้อความและลวดลายล้อมกรอบพิมพ์ด้วยหมึกสีดำ ประทับตราพระราชลัญจกรประจำพระราชวงศ์จักรี รูปพระแสงจักร และพระราชลัญจกรประจำพระองค์ รูปพระมหาพิชัยมงกุฎสีแดงป้องกันการปลอมแปลง

แต่เนื่องจากหมายยังเป็นเงินแบบใหม่ที่ประชาชนยังไม่เคยชินในการใช้จึงไม่ได้รับความนิยม เมื่อประชาชนได้รับหมายก็จะรีบนำมาขึ้นเงินที่พระคลังมหาสมบัติโดยเร็ว หลักฐานการประกาศใช้หมายและการประกาศยกเลิกใช้ก็ไม่พบแน่ชัด

หมายราคาต่ำ

เท่าที่พบคือราคา เฟื้อง สลึง สลึงเฟื้อง สองสลึง สามสลึง และหนึ่งบาท พิมพ์ตามแนวตั้ง ด้านภาษาไทยประทับตราพระราชลัญจกรรูปดอกบัวตามจำนวนเงินตั้งแต่ 1 ดอก จนถึง 8 ดอก มีการประทับตราดุนนูนรูปตราเงินเฟื้องตามจำนวนมูลค่าเพื่อให้ผู้พิการทางสายตารู้ราคาได้

หมายราคากลาง

เท่าที่พบคือราคา 3 ตำลึง 4 ตำลึง 6 ตำลึง และ 10 ตำลึง พิมพ์ตามแนวนอน ด้านภาษาไทยประทับตัวอักษรจีนคำว่า "พู่" แปลว่าพิทักษ์หรือคุ้มครอง เท่าจำนวนตำลึง

หมายราคาสูง

เท่าที่พบคือราคา 5 ตำลึง และ 1 ชั่ง พิมพ์ตามแนวตั้ง ที่ด้านล่างซ้ายด้านภาษาไทยมีพิมพ์คำว่า "ที่" และอีกด้านหนึ่งพิมพ์คำว่า "No" เพื่อเขียนหมายเลขของหมายเนื่องจากเป็นหมายราคาสูง