ราคาโดยประเมิน
ราคานี้อัพเดทเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2560
ข้อมูลธนบัตร
ธนบัตรแบบ 12 นี้ ออกแบบมาในคอนเซ็ปต์ "มหาราช" เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าที่ได้รับการถวายพระราชสมัญญาภิไธย มหาราช จึงได้ใช้ภาพพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ที่ได้รับพระเกียรติดังกล่าวมาเป็นภาพประธานด้านหลังธนบัตร
ธนบัตร 20 บาท แบบ 12 นี้ถูกประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2524 และเริ่มจ่ายแลกเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2524
ขนาดธนบัตร
7.20 x 13.80 เซนติเมตร
ธนบัตรด้านหน้า
สีหลักของธนบัตรเป็นสีเขียว มีภาพประธานเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 9 ทรงเครื่องแบบจอมทัพอยู่ตรงกลางขวา มีรูปพระครุฑพ่าห์อยู่ตรงมุมบนซ้าย และมีคำว่า รัฐบาลไทย อยู่ตรงกลาง เว้นที่ว่างด้านซ้ายล่างเป็นลายน้ำ
ธนบัตรด้านหลัง
ภาพประธานคือภาพพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ สวนสาธารณะทุ่งนาเชย อ.เมือง จ.จันทบุรี ด้านซ้ายเป็นภาพทิวทัศน์ฝั่งทะเล ด้านขวาบนมีรูปพระครุฑพ่าห์ในตำแหน่งที่ตรงกันกับรูปพระครุฑพ่าห์ด้านหน้า เมื่อยกส่องจะซ้อนทับกันพอดี
ลายมือชื่อบนธนบัตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
นายสมหมาย ฮุนตระกูล (11 ก.พ. 2523 - 11 มี.ค. 2523)
นายสมหมาย ฮุนตระกูล (11 มี.ค. 2524 - 10 ส.ค. 2529)
นายสุธี สิงห์เสน่ห์ (11 ส.ค. 2529 - 8 ส.ค. 2531)
นายประมวล สภาวสุ (9 ส.ค. 2531 - 26 ส.ค. 2533)
นายวีรพงษ์ รามางกูร (26 ส.ค. 2533 - 13 ธ.ค. 2533)
นายบรรหาร ศิลปอาชา (14 ธ.ค. 2533 - 23 ก.พ. 2534)
นายสุธี สิงห์เสน่ห์ (6 มี.ค. 2534 - 17 มิ.ย. 2535)
นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ (28 ก.ย. 2535 - 17 ก.ค. 2538)
นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย (18 ก.ค. 2538 - 28 พ.ค. 2539)
นายบดี จุณณานนท์ (28 พ.ค. 2539 - 15 ต.ค. 2539)
นายอำนวย วีรวรรณ (29 พ.ย. 2539 - 21 มิ.ย. 2540)
นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ (14 พ.ย. 2540 - 16 ก.พ. 2544)
นายสมคิด จาตุศรีพิมักษ์ (17 ก.พ. 2544 - 8 ก.พ. 2546)
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
นายนุกูล ประจวบเหมาะ (1 พ.ย. 2522 - 13 ก.ย. 2527)
นายกำจร สถิรกุล (14 ก.ย. 2527 - 5 มี.ค. 2533)
นายชวลิต ธนะชานันท์ (6 มี.ค. 2533 - 30 ก.ย. 2533)
นายวิจิตร สุพินิจ (1 ต.ค. 2533 - 1 ก.ค. 2539)
นายเริงชัย มะระกานนท์ (11 ก.ค. 2539 - 28 ก.ค. 2540)
มรว.จัตุมงคล โสณกุล (7 พ.ค. 2541 - 30 พ.ค. 2544)
มรว.ปรีดิยาธร เทวกุล (31 พ.ค. 2544 - 6 ต.ค. 2549)
เทคโนโลยีที่ใช้ในการต่อต้านการปลอมแปลง
การพิมพ์หมึกนูน ลายน้ำในเนื้อกระดาษ ตำแหน่งพระครุฑพ่าห์ที่ด้านหน้าด้านหลังตรงกันเมื่อยกส่องจะซ้อนกันสนิท ฝังแถบเส้นมั่นคงลงในเนื้อกระดาษ
ข้อมูลอ้างอิง
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๑๘๒ ฉบับพิเศษ หน้า ๓ วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๒๔