ธนบัตร 100 บาท แบบ 12 ด้านหน้า
ธนบัตร 100 บาท  แบบ 12 ด้านหลัง

ราคาโดยประเมิน

  • เลขธรรมดา ลายเซ็น สมหมาย-นุกูล เลข 6 หลัก สภาพ UNC ราคาประมาณ 17,500 บาท
  • เลขธรรมดา ลายเซ็น ประมวล-ชวลิต เลข 7 หลัก สภาพ UNC ราคาประมาณ 200 - 210 บาท
  • เลขธรรมดา ลายเซ็น วีรพงษ์-วิจิตร เลข 7 หลัก สภาพ UNC ราคาประมาณ 200 - 210 บาท
  • เลขธรรมดา ลายเซ็น วีรพงษ์-ชวลิต เลข 7 หลัก สภาพ UNC ราคาประมาณ 1,200 - 1,250 บาท
  • เลขธรรมดา หมวดเสริม (s) ลายเซ็น พนัส-วิจิตร เลข 7 หลัก สภาพ UNC ราคาประมาณ 370 - 390 บาท
  • ชุดเลขตอง 1's - 9's (รวม 9 ฉบับ) ลายเซ็น สมหมาย-กำจร เลข 6 หลัก สภาพ UNC ราคาประมาณ 130,000 บาท
  • ชุดเลขตอง 1's - 9's + 0000001 + 1234567 (รวม 11 ฉบับ) เลข 7 หลัก ลายเซ็น ธารินทร์-จัตุมงคล สภาพ UNC ราคาประมาณ 190,000 บาท

    ราคานี้อัพเดทเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2560

    ข้อมูลธนบัตร

    ธนบัตรแบบ 12 นี้ ออกแบบมาในคอนเซ็ปต์ "มหาราช" เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าที่ได้รับการถวายพระราชสมัญญาภิไธย มหาราช จึงได้ใช้ภาพพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ที่ได้รับพระเกียรติดังกล่าวมาเป็นภาพประธานด้านหลังธนบัตร

    ธนบัตร 100 บาท แบบ 12 นี้เป็นธนบัตรชนิดราคาแรกที่ออกใช้ในชุดธนบัตรแบบ 12 ถูกประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2521 และเริ่มจ่ายแลกเมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2521

    ขนาดธนบัตร

    8.00 x 15.40 เซนติเมตร

    ธนบัตรด้านหน้า

    สีหลักของธนบัตรเป็นสีแดงเลือดหมู มีภาพประธานเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 9 ทรงเครื่องแบบจอมทัพ อยู่ตรงกลางขวา มีรูปพระครุฑพ่าห์อยู่ตรงมุมบนซ้าย และมีคำว่า รัฐบาลไทย อยู่ตรงกลาง เว้นที่ว่างด้านซ้ายล่างเป็นลายน้ำ

    ธนบัตรด้านหลัง

    ภาพประธานคือภาพพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ ต.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี ด้านขวาบนมีรูปพระครุฑพ่าห์ในตำแหน่งที่ตรงกันกับรูปพระครุฑพ่าห์ด้านหน้า เมื่อยกส่องจะซ้อนทับกันพอดี

    ลายมือชื่อบนธนบัตร

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
    นายสุพัฒน์ สุธาธรรม (22 ต.ค. 2519 - 23 พ.ค. 2522)
    พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ (24 พ.ค. 2522 - 11 ก.พ. 2523)
    นายสมหมาย ฮุนตระกูล (11 ก.พ. 2523 - 11 มี.ค. 2523)
    นายอำนวย วีรวรรณ (12 มี.ค. 2523 - 11 มี.ค. 2524)
    นายสมหมาย ฮุนตระกูล (11 มี.ค. 2524 - 10 ส.ค. 2529)
    นายสุธี สิงห์เสน่ห์ (11 ส.ค. 2529 - 8 ส.ค. 2531)
    นายประมวล สภาวสุ (9 ส.ค. 2531 - 26 ส.ค. 2533)
    นายวีรพงษ์ รามางกูร (26 ส.ค. 2533 - 13 ธ.ค. 2533)
    นายบรรหาร ศิลปอาชา (14 ธ.ค. 2533 - 23 ก.พ. 2534)
    นายสุธี สิงห์เสน่ห์ (6 มี.ค. 2534 - 17 มิ.ย. 2535)
    นายพนัส สิมะเสถียร (18 มิ.ย. 2535 - 27 ก.ย. 2535)
    นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ (28 ก.ย. 2535 - 17 ก.ค. 2538)

    ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
    นายเสนาะ อูนากูล (24 พ.ค. 2518 - 31 ต.ค. 2522)
    นายนุกูล ประจวบเหมาะ (1 พ.ย. 2522 - 13 ก.ย. 2527)
    นายกำจร สถิรกุล (14 ก.ย. 2527 - 5 มี.ค. 2533)
    นายชวลิต ธนะชานันท์ (6 มี.ค. 2533 - 30 ก.ย. 2533)
    นายวิจิตร สุพินิจ (1 ต.ค. 2533 - 1 ก.ค. 2539)

    เทคโนโลยีที่ใช้ในการต่อต้านการปลอมแปลง

    การพิมพ์หมึกนูน ลายน้ำในเนื้อกระดาษ ตำแหน่งพระครุฑพ่าห์ที่ด้านหน้าด้านหลังตรงกันเมื่อยกส่องจะซ้อนกันสนิท ฝังแถบเส้นมั่นคงลงในเนื้อกระดาษ

    ข้อมูลอ้างอิง

    ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๓๗ ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๒๑