ธนบัตร 10 บาท แบบ 2 มีทั้งหมด 2 รุ่นดังนี้

ธนบัตร 10 บาท รุ่น 1 ด้านหน้า
ธนบัตร 10 บาท รุ่น 1 ด้านหลัง

ธนบัตร 10 บาท รุ่น 1 ข้อความด้านบนคือ "สัญญาจะจ่ายเงินให้แก่ผู้นำธนบัตรนี้มาขึ้นเป็นเงินตราสยาม"


ธนบัตร 10 บาท รุ่น 2 ด้านหน้า

ธนบัตร 10 บาท รุ่น 2 เปลี่ยนเฉพาะด้านหน้า แก้ข้อความเป็น "ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย"

ราคาธนบัตรโดยประเมิน

  • รุ่น 1 เลขธรรมดา ลายเซ็น ศุภโยค สภาพ UNC ราคาประมาณ 20,100 - 21,100 บาท
  • รุ่น 1 เลขธรรมดา ลายเซ็น ศุภโยค สภาพ VF ราคาประมาณ 10,400 - 10,900 บาท
  • รุ่น 2 เลขธรรมดา ลายเซ็น มโน สภาพ VF ราคาประมาณ 5,900 - 6,200 บาท
  • รุ่น 2 เลขธรรมดา ลายเซ็น ศุภโยค สภาพ F ราคาประมาณ 2,400 - 2,500 บาท
  • รุ่น 2 เลขธรรมดา ลายเซ็น โกมารกุล สภาพ UNC ราคาประมาณ 43,700 - 45,800 บาท
  • รุ่น 2 เลขธรรมดา ลายเซ็น โกมารกุล สภาพ EF ราคาประมาณ 20,700 - 21,700 บาท
  • รุ่น 2 เลขธรรมดา ลายเซ็น มโน สภาพ UNC ราคาประมาณ 39,000 - 41,000 บาท
  • รุ่น 2 เลขธรรมดา ลายเซ็น มโน สภาพ G ราคาประมาณ 5,900 - 6,2000 บาท
  • รุ่น 1 เลขสวย 00001 ลายเซ็น ศุภโยค สภาพ VF ราคาประมาณ 29,500 - 31,000 บาท

    ราคานี้อัพเดทเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2560

    ข้อมูลธนบัตร

    พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2453 ในช่วงต้นรัชกาลยังคงมีการใช้ธนบัตรแบบ 1 ที่ได้สั่งพิมพ์ไว้ตั้งแต่รัชกาลก่อนรวมถึงที่ได้สั่งเพิ่มในรัชกาลของพระองค์

    เมื่อมีการเปลี่ยนรัชกาลใหม่และรวมถึงธนบัตรแบบ 1 ใกล้หมดลงกระทรวงพระคลังมหาสมบัติจึงมีดำริจะเปลี่ยนแบบธนบัตรใหม่ จึงได้เตรียมการคัดเลือกบริษัทผู้พิมพ์ธนบัตรไว้หลายรายและสุดท้ายได้ตกลงจ้างบริษัทโทมัสเดอลารู ประเทศอังกฤษเป็นผู้พิมพ์ธนบัตร

    ธนบัตรแบบ 2 มีความพิเศษกว่าธนบัตรแบบ 1 คือมีการพิมพ์เส้นนูนซึ่งทำให้ยากต่อการปลอมแปลง และยังเพิ่มการพิมพ์ลวดลายที่ด้านหลังธนบัตรอีกด้วย แต่ธนบัตรแบบ 2 นี้ยังไม่มีการทำลายน้ำในเนื้อกระดาษ

    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่าพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพระราชพิธีสำคัญที่แสดงถึงการค้าขายและวัฒนธรรมอันดีงามของไทย พระองค์จึงได้ทรงเลือกให้เป็นภาพด้านหลังธนบัตร ประชาชนมักเรียกธนบัตรแบบ 2 นี้ว่า ธนบัตรไถนา

    ธนบัตร 10 บาท แบบ 2 มี 2 รุ่น มีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดในธนบัตรคือในธนบัตรรุ่นแรกมีข้อความปรากฏบนธนบัตรว่า "สัญญาจะจ่ายเงินให้แก่ผู้นำธนบัตรนี้มาขึ้นเป็นเงินตราสยาม" ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติธนบัตรสยามในปี 2446 ที่กำหนดให้ธนบัตรนำมาขึ้นเป็นเงินตราโลหะได้ ต่อมาได้ออกกฎหมายให้นำเงินสำรองไปลงทุนได้ 100% จึงได้ออกพระราชบัญญัติเงินตราเพิ่มเติมชั่วคราวในปี 2461 ให้งดจ่ายเงินตราแก่ผู้นำมาขอขึ้นเงิน แม้ในระหว่างนั้นธนบัตรที่หมุนเวียนในระบบจะมีข้อความ "สัญญาจะจ่ายเงินให้แก่ผู้นำธนบัตรนี้มาขึ้นเป็นเงินตราสยาม" ก็ไม่มีกฎหมายใดให้รับธนบัตรขึ้นเป็นเงินตราได้

    จนถึงปี 2471 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติเงินตรา กำหนดให้เงินตราของประเทศประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ จึงทำให้ธนบัตรเป็นเงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ไม่ใช่ตั๋วสัญญาใช้เงินอย่างที่เคยเป็น ในธนบัตรแบบ 2 รุ่น 2 จึงแก้ข้อความเป็น "ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย"

    ธนบัตร 10 บาท รุ่น 1 ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2468
    ธนบัตร 10 บาท รุ่น 2 ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2471

    ขนาดธนบัตร

    9.50 x 17.50 เซนติเมตร

    หมวดอักษรและหมายเลขธนบัตร

    ท ๑ - ท ๑๐๐

    ธนบัตรด้านหน้า

    มีคำว่า "สิบบาท" ทับอยู่บนลายเฟื่อง มีแถบรัศมี 12 แฉก แต่ละแฉกมีข้อความขนาดจิ๋วคำว่า รัฐบาลสยาม มีหมวดอักษรโรมันและเลขอารบิคทางด้านซ้าย หมวดอักษรไทยและเลขไทยด้านขวา พร้อมวันเดือนปีของธนบัตรอยู่ใต้หมวดหมายเลขธนบัตรทั้ง 2 ข้าง และมีหมวดอักษรไทยและเลขไทยที่ตำแน่งเหนือลายเซ็น

    ธนบัตรด้านหลัง

    ภาพประธานเป็นรูปพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในกรอบวงรีลายเฟื่อง มีเลขราคาเลขอารบิคอยู่ด้านขวา เลขไทยอยู่ด้าานซ้าย

    ลายมือชื่อบนธนบัตร

    รุ่น 1

  • ศุภโยค

    รุ่น 2

  • ศุภโยค
  • โกมารกุล
  • มโน
  • พระยาศรี

    เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
    พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม 17 ม.ค. 2465 - 26 ต.ค. 2472)
    พระยาโกมารกุลมนตรี (26 ต.ค. 2472 - 9 เม.ย. 2475)
    พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (29 มิ.ย. 2475 - 23 มิ.ย. 2476)
    เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (24 มิ.ย. 2476 - 21 ก.ย. 2477)