ธนบัตร 1000 บาท แบบ 15 รุ่น 2 ด้านหน้า
ธนบัตร 1000 บาท  แบบ 15 รุ่น 2 ด้านหลัง

ราคาโดยประเมิน

  • เลขสวย x99999x ลายเซ็น สมหมาย-ประสาร สภาพ UNC ราคาประมาณ 2,600 - 2,750 บาท
  • เลขสวย xxxxxxy ลายเซ็น สมหมาย-ประสาร สภาพ UNC ราคาประมาณ 1,580 - 1,650 บาท

    ราคานี้อัพเดทเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2560

    ข้อมูลธนบัตร

    ธนบัตรแบบ 15 นี้ ออกแบบมาในคอนเซ็ปต์ "ราชวงศ์จักรี" คือมุ่งเน้นการเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทยในยุคราชวงศ์จักรี เริ่มนำออกใช้ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา

    ธนบัตร 1000 บาท แบบ 15 รุ่น 2 นี้ถูกประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2548 และเริ่มจ่ายแลกเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2548

    ขนาดธนบัตร

    7.20 x 16.20 เซนติเมตร

    ธนบัตรด้านหน้า

    สีหลักของธนบัตรเป็นสีเทา มีภาพประธานเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเครื่องแบบจอมทัพอยู่ตรงกลางขวา มีตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์อยู่ตรงกลางซ้าย ด้านซ้ายมีแถบฟอยล์สีเงินแวววาวติดตามตั้ง ในแถบฟอยล์มีลวดลายรูปพระครุฑพาห์ และตัวเลขไทย ๑๐๐๐ และตัวเลขอารบิค 1000 เรียงเป็นระยะ

    ธนบัตรด้านหลัง

    ภาพประธานคือพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ห้ว รัชกาลที่ 9 ขณะทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ส่วนภาพเล็กด้านซ้ายคือภาพเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ภาพด้านขวาคือภาพเกษตรกรรมตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่

    ลายมือชื่อบนธนบัตร

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
    นายทนง พิทยะ (2 ส.ค. 2548 - 19 ก.ย. 2549)
    มรว. ปรีดิยาธร เทวกุล (8 ต.ค. 2549 - 28 ก.พ. 2550)
    นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ (7 มี.ค. 2550 - 1 ก.พ. 2551)
    นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี (6 ก.พ. 2551 - 23 ก.ย. 2551)
    นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช (24 ก.ย. 2551 - 19 ธ.ค. 2551)
    นายกรณ์ จาติกวณิช (20 ธ.ค. 2551 - 10 พ.ค. 2554)
    นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล (9 ส.ค. 2554 - 18 ม.ค. 2555)
    นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง (18 ม.ค. 2555 - 7 พ.ค. 2557)
    นายสมหมาย ภาษี (31 ส.ค. 2557 - 19 ส.ค. 2558)

    ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
    มรว.ปรีดิยาธร เทวกุล (31 พ.ค. 2544 - 6 ต.ค. 2549)
    นางธาริษา วัฒนเกส (8 พ.ย. 2549 - 30 ก.ย. 2553)
    นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล (1 ต.ค. 2553 - 30 ก.ย. 2558)

    เทคโนโลยีที่ใช้ในการต่อต้านการปลอมแปลง

    การพิมพ์หมึกนูน เนื้อกระดาษโรยเส้นใยเรืองแสง ลายน้ำในเนื้อกระดาษ แถบเส้นมั่นคงฝังในเนื้อกระดาษ การพิมพ์ครึ่งลายดอกบัวที่ด้านหน้าด้านหลังในตำแหน่งตรงกันเมื่อยกส่องจะเป็นลายดอกบัวที่สมบูรณ์ ภาพลายบางส่วนพิมพ์ด้วยหมึกพิเศษที่จะเปลี่ยนสีเมื่อส่องด้วยไฟแสงเหนือม่วง เลขราคาพิมพ์ด้วยหมึกเปลี่ยนสีจะเห็นเมื่อพลิกธนบัตร แถบฟอยล์ ลายดุนนูน 4 จุดสำหรับผู้พิการทางสายตา

    ข้อมูลอ้างอิง

    ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒ ตอนพิเศษ ๗๕ ง หน้า ๑๑ วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๘