ธนบัตร 1000 บาท แบบ 14 ด้านหน้า
ธนบัตร 1000 บาท  แบบ 14 ด้านหลัง

ราคาโดยประเมิน

  • เลขธรรมดา ลายเซ็น ธารินทร์-จัตุมงคล สภาพ UNC ราคาประมาณ 2,000 - 2,100 บาท
  • ธนบัตรตัวอย่าง พิมพ์ "ตัวอย่าง" ลายเซ็น พนัส-วิจิตร สภาพ UNC ราคาประมาณ 20,000 - 24,000 บาท
  • เลขตอง xxxxxxx (เช่น 2222222) สภาพ UNC ราคาประมาณ 12,000 บาท

    ราคานี้อัพเดทเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2560

    ข้อมูลธนบัตร

    ธนบัตรแบบ 14 นี้ ออกแบบมาในคอนเซ็ปต์ "ราชวงศ์จักรี" คือมุ่งเน้นการเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทยในยุคราชวงศ์จักรี เริ่มนำออกใช้ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา

    ธนบัตร 1000 บาท แบบ 14 นี้เป็นธนบัตรชนิดราคา 1000 บาทแบบแรกที่ใช้ในประเทศไทบ ถูกประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2535 และเริ่มจ่ายแลกเมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2535

    ลวดลายส่วนใหญ่ของธนบัตร 1000 บาท แบบ 14 นี้ยังถูกนำไปใช้ในการผลิตธนบัตรที่ระลึกสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ในปี 2535

    ขนาดธนบัตร

    8.00 x 16.60 เซนติเมตร

    ธนบัตรด้านหน้า

    สีหลักของธนบัตรเป็นสีเทา มีภาพประธานเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงเครื่องแบบจอมทัพอยู่ตรงกลางขวา มีตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์อยู่ตรงกลางซ้าย

    ธนบัตรด้านหลัง

    ภาพประธานคือพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ห้ว รัชกาลที่ 9 และพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชชินีนาถ ขณะทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ส่วนภาพเล็กด้านซ้ายคือภาพน้ำตกกรุงชิง หนานฝนแสนห่า ภาพด้านขวาคือภาพเขื่อนภูมิพล

    ลายมือชื่อบนธนบัตร

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
    นายพนัส สิมะเสถียร (18 มิ.ย. 2535 - 27 ก.ย. 2535)
    นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ (28 ก.ย. 2535 - 17 ก.ค. 2538)
    นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย (18 ก.ค. 2538 - 28 พ.ค. 2539)
    นายบดี จุณณานนท์ (28 พ.ค. 2539 - 15 ต.ค. 2539)
    นายอำนวย วีรวรรณ (29 พ.ย. 2539 - 21 มิ.ย. 2540)
    นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ (24 ต.ค. 2540 - 13 พ.ย. 2540)
    นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ (14 พ.ย. 2540 - 16 ก.พ. 2544)

    ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
    นายวิจิตร สุพินิจ (1 ต.ค. 2533 - 1 ก.ค. 2539)
    นายเริงชัย มะระกานนท์ (11 ก.ค. 2539 - 28 ก.ค. 2540)
    นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ (31 ก.ค. 2540 - 4 พ.ค. 2541)
    มรว.จัตุมงคล โสณกุล (7 พ.ค. 2541 - 30 พ.ค. 2544)

    เทคโนโลยีที่ใช้ในการต่อต้านการปลอมแปลง

    การพิมพ์หมึกนูน เนื้อกระดาษโรยเส้นใยเรืองแสง ลายน้ำในเนื้อกระดาษ แถบเส้นมั่นคงฝังในเนื้อกระดาษ การพิมพ์วงกลมที่ด้านหน้าด้านหลังในตำแหน่งตรงกันเมื่อยกส่องจะเป็นวงกลมที่ซ้อนทับกันพอดี ภาพลายบางส่วนพิมพ์ด้วยหมึกพิเศษที่จะเปลี่ยนสีเมื่อส่องด้วยไฟแสงเหนือม่วง

    ข้อมูลอ้างอิง

    ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๘๕ หน้า ๗๒๒๓ วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๓๕